กลับมาพบกันอีกคราวนี้เราจะมานำเสนอเกี่ยวกับพรรณไม้มหัศจรรย์อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งมีชื่อว่า "พลูคาว" กันนะครับ พลูคาว นั้นเป็นพืชล้มลุกมีอายุหลายปี เป็นพืชอยู่ในวงศ์ SAURURACEAE ต้นมีความสูง 15-30 ซม. ทั้งต้นมีกลิ่นคาวแรงมาก ลำต้นและใบมีสีเขียวเป็นข้อๆ ลำต้นจะทอดเลื้อยไปตามหน้าดิน สามารถแตกรากออกตามข้อต้นได้ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ เป็่นรูปหัวใจ โคนก้านใบเป็นกาบหุ้มลำต้นบริเวณข้อ ดอก ออกที่ปลายยอด มีใบประดับสีขาว 4 ใบ ดอกย่อยมีขนาดเล็กสีขาวจำนวนมาก ลักษณะดอกไม่มีกลีบดอกและก้านดอก ผล ทรงกลมเมื่อผลแห้งแตกได้มีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก ต้นและใบนำมากินเป็นอาหารได้นิยมกันแพร่หลายทางภาคเหนือ โดยกินเป็นผักสดกับลู่เลือด ลาบ ก้อยดิบ น้ำพริกชนิดต่างๆ เมื่อเคี้ยวหรือขยี้จะมีกลิ่นคาวรุนแรงมาก คนไม่ค่อยคุ้นเคยจะไม่กล้ิากินอย่างเด็ดขาด ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและปักชำกิ่ง พลูคาว ชนิืดที่ลำต้นและใบเป็นสีเขียวนี้ นักวิัจัยจาก 5 สถาบันระบุว่า เส้นกระดูกหลังใบที่เป็นสีแดงมีสาร "เฮลตี้แบคทีเรีย" มีจุลินทรีย์ และ "แอดโตแบซิลลัส" ชนิดหนึ่งที่ไปกระตุ้นภูมิคุ้มกันหยุดการเจริญเติบโตในร่างกายของมนุษย์ โดยต้านทานเนื้องอก ให้ทำงานง่ายขึ้น พร้อมขับพิษที่จะเป็นสารก่อมะเร็งออกจากร่างกาย โดยนักวิจัยจาก 5 สถาบันได้สกัดเป็นยาทดลองให้ผู้ป่วยเป็นมะเร็ง 5 ชนิด คือ มะเร็งปอด มะเร็งต่อมไทรอยด์ มะเร็งปากมดลูก เนื้องอกบริเวณสมอง และเนื้องอกของ "SOFT TISSUE SARCOMA." โดยให้ดื่มบำรุงกำลังควบคู่กับการรักษาของคณะแพทย์ด้วยการฉายรังสี ปรากฎว่า ผู้ป่วยหายเร็วกว่าการรักษาแบบปกติหรือแบบเดิม ดังนั้น พลูคาว จึงถือว่าเป็นพืชผักกินได้ที่มีคุณประโยชน์อย่างมากมายมหาศาล แต่อย่างไรก็ตาม พลูคาว ยังมีอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า พลูคาวแดง ซึ่งมีข้อแตกต่างจากชนิดแรกที่เป็นสีเขียวเพียงจุดเดียว คือ ลำต้นและกิ่งก้านเป็นสีแดงอมม่วง อย่างอื่นเหมือนกันหมด ซึ่ง พลูคาวแดง ในใบจะมีสรรพคุณแก้กามโรค ทำให้น้ำเหลืองแห้ง แก้โรคผิวหนังทุึกชนิดได้ ในตำราจีนใช้ทั้งต้นเป็นยาขับปัสสาวะ ฆ่าเชื้อทางเดินปัสสาวะ คนไทยภาคเหนือกิน พลูคาว ป้องกันมะเร็งมานานแล้ว เห็นหรือไม่ครับว่าภูมิปัญญาไทยสมัยก่อนนั้นสุดยอดขนาดไหน รู้จักวิธีป้องกันรักษาโรคภัยไข้เจ็บด้วยพืชสมุนไพรกันมานานแล้ว และได้ผลเป็นอย่างดีอีกด้วย หวังว่าท่านผู้อ่านคงจะได้ประโยชน์บ้างจากความรู้ที่ได้นำมาเสนอนี้ และในตอนต่อไปจะมานำเสนอพืชมหัศจรรย์็ชนิดไหนลองมาติดตามกันดูนะครับ จากบล็อก "มหัศจรรย์พรรณไม้"...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น